แหล่งกำเนิดไฟฟ้า แหล่งกำเนิดไฟฟ้ามีหลายชนิด ดังนี้
1. แหล่งกำเนิดไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากการเสียดสีของวัตถุ การนำวัตถุ 2 ชนิดมาเสียดสีกันจะเกิดไฟฟ้า เรียกว่า ไฟฟ้าสถิต ผู้ค้นพบไฟฟ้าสถิตครั้งแรก คือ นักปราชญ์กรีกโบราณท่านหนึ่งชื่อเทลิส(Philosopher Thales) แต่ยังไม่ทราบอะไรเกี่ยวกับไฟฟ้ามากนักจนถึงสมัยเซอร์วิลเลี่ยมกิลเบอร์ค(Sir William Gilbert)ได้ทดลองนำเอาแท่งอำพันถูกับผ้าขนสัตว์ปรากฏว่าแท่งอำพันและผ้าขนสัตว์สามารถดูดผงเล็กๆได้ปรากฏการณ์นี้คือการเกิดไฟฟ้าสถิตบนวัตถุทั้งสอง
2.
แหล่งกำเนิดไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากพลังงานทางเคมี
แหล่งกำเนิดไฟฟ้าจากพลังงานทางเคมีเป็นไฟฟ้าชนิดกระแสตรง(Direct Current)
สามารถแบ่งออกได้เป็น
2
แบบ
คือ
1) เซลล์ปฐมภูมิ (Primary
Cell)เป็นแหล่งกำเนิดไฟฟ้าที่ให้กระแสไฟฟ้าตรง
ผู้ที่คิดค้นได้คนแรกคือ
เคานต์อาเลสซันโดรยูเซปเปอันโตนีโออานัสตาซีโอวอลตา
นักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาลี โดยใช้แผ่นสังกะสี
และแผ่นทองแดงจุ่มลงใน
สารละลายของกรดกำมะถันอย่างเจือจาง มีแผ่นทองแดงเป็นขั้วบวกแผ่นสังกะสีเป็นขั้วลบ เรียกว่า เซลล์วอลเทอิก เมื่อต่อเซลล์กับวงจรภายนอกก็จะมีกระแสไฟฟ้าไหลจากแผ่นทองแดงไปยังแผ่นสังกะสี ขณะที่เซลล์วอลเทอิกจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับหลอดไฟแผ่นสังกะสีจะค่อย ๆ กร่อนไปทีละน้อยซึ่งจะเป็นผลทำให้กำลังในการจ่ายกระแสไฟฟ้าลดลงด้วย และเมื่อใช้ไปจนกระทั่งแผ่นสังกะสีกร่อนมากก็ต้องเปลี่ยนสังกะสีใหม่ จึงจะทำให้การจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ต่อไปเท่าเดิม ข้อเสียของเซลล์แบบนี้คือ ผู้ใช้จะต้องคอยเปลี่ยนแผ่นสังกะสีทุกครั้งที่เซลล์จ่ายกระแสไฟฟ้าลดลง แต่อย่างไรก็ตามเซลล์วอลเทอิกนี้ ถือว่าเป็นต้นแบบของการประดิษฐ์เซลล์แห้ง (Dry Cell) หรือถ่านไฟฉายในปัจจุบัน ทั้งเซลล์เปียกและเซลล์แห้งนี้เรียกว่า เซลล์ปฐมภูมิ (Primary Cell) ข้อดีของเซลล์ปฐมภูมินี้ คือ เมื่อสร้างเสร็จสามารถนำไปใช้ได้ทันที
สารละลายของกรดกำมะถันอย่างเจือจาง มีแผ่นทองแดงเป็นขั้วบวกแผ่นสังกะสีเป็นขั้วลบ เรียกว่า เซลล์วอลเทอิก เมื่อต่อเซลล์กับวงจรภายนอกก็จะมีกระแสไฟฟ้าไหลจากแผ่นทองแดงไปยังแผ่นสังกะสี ขณะที่เซลล์วอลเทอิกจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับหลอดไฟแผ่นสังกะสีจะค่อย ๆ กร่อนไปทีละน้อยซึ่งจะเป็นผลทำให้กำลังในการจ่ายกระแสไฟฟ้าลดลงด้วย และเมื่อใช้ไปจนกระทั่งแผ่นสังกะสีกร่อนมากก็ต้องเปลี่ยนสังกะสีใหม่ จึงจะทำให้การจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ต่อไปเท่าเดิม ข้อเสียของเซลล์แบบนี้คือ ผู้ใช้จะต้องคอยเปลี่ยนแผ่นสังกะสีทุกครั้งที่เซลล์จ่ายกระแสไฟฟ้าลดลง แต่อย่างไรก็ตามเซลล์วอลเทอิกนี้ ถือว่าเป็นต้นแบบของการประดิษฐ์เซลล์แห้ง (Dry Cell) หรือถ่านไฟฉายในปัจจุบัน ทั้งเซลล์เปียกและเซลล์แห้งนี้เรียกว่า เซลล์ปฐมภูมิ (Primary Cell) ข้อดีของเซลล์ปฐมภูมินี้ คือ เมื่อสร้างเสร็จสามารถนำไปใช้ได้ทันที
3.
แหล่งกำเนิดไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า
กระแสไฟฟ้าที่ได้มาจากพลังงานแม่เหล็กโดยวิธีการใช้ลวดตัวนำไฟฟ้าตัดผ่านสนามแม่เหล็ก
หรือการนำสนามแม่เหล็กวิ่งตัดผ่านลวดตัวนำอย่างใดอย่างหนึ่งทั้งสองวิธีนี้จะทำให้มีกระแสไฟฟ้าไหลในตัวนำนั้น
กระแสที่ผลิตได้มีทั้งกระแสตรงและกระแสสลับ
หลักการของเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรงอาศัยหลักการที่ตัวนำเคลื่อนที่ตัดสนามแม่เหล็กจะเกิดแรงเคลื่อนที่ไฟฟ้าขึ้นในลวดตัวนำนั้น โครงสร้างของเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรง มีดังนี้
ก.ส่วนที่อยู่กับที่ประกอบด้วยโครงและขั้วแม่เหล็ก ส่วนนี้สร้างสนามแม่เหล็กหรือเส้นแรงแม่เหล็กและส่วนที่รับกระแสไฟออก
2)
เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ
มีโครงสร้างเหมือนเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรง แต่ที่อาร์มาเจอร์มีวงแหวนแทนคอมมิวเตเตอร์
(Commutature)
หลักการทำงานของการเกิดมีขั้นตอนโครงสร้าง
9
ขั้นตอน
จะเห็นได้ว่าแหล่งกำเนิดไฟฟ้ามีได้หลายรูปแบบ
แต่ในที่นี้เราจะศึกษาเฉพาะเซลล์ไฟฟ้าเคมี
เซลล์ไฟฟ้าเคมี
เซลล์ไฟฟ้าเคมี คืออุปกรณ์ที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าขึ้นมาได้
จากการเกิดปฏิกิริยาเคมี ประกอบด้วยโลหะสองชนิดซึ่งทำหน้าที่เป็นขั้วไฟฟ้าจุ่มอยู่ในสารละลายที่นำไฟฟ้า
องค์ประกอบที่สำคัญของเซลล์ไฟฟ้าเคมี
1) ขั้วไฟฟ้า
(Electrode)
ทำจากโลหะ
สองชนิด ที่แตกตัวเป็นไอออนได้ไม่เท่ากัน โลหะที่ทำหน้าที่เป็นขั้วไฟฟ้านี้เรียกว่า อิเลคโตรด ขั้วหนึ่งเป็นขั้วบวก อีกขั้วหนึ่งเป็นขั้วลบ
2) สารละลายที่นำไฟฟ้า
(Electrolyte)
เป็นสารละลายที่สามารถแตกตัวแล้วเกิดประจุไฟฟ้าได้ อาจเป็นสารละลายของกรด เบส เกลือ เช่น
สารละลายกรดซัลฟิวริก สารละลายเบสโซเดียมไฮดรอกไซด์ สารละลายเกลือคอปเปอร์ซัลเฟตยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ ทำหน้าที่เป็นอิเลคโทรไลต์ และสามารถแตกตัวเป็นไอออนได้
การเกิดกระแสไฟฟ้าในเซลล์ไฟฟ้าเคมี
มีหลักการดังนี้
เมื่อจุ่มโลหะลงในกรดเจือจาง โลหะแต่ละชนิดจะแตกตัวเป็นไอออนได้ไม่เท่ากัน เช่นในกรดซัลฟิวริกเจือจาง แผ่นสังกะสีแตกตัวเป็นไอออนได้มากกว่าแผ่นทองแดง จึงเกิดประจุลบที่แผ่นสังกะสีมากกว่า
ทำให้มีศักย์ไฟฟ้าต่ำกว่าแผ่นทองแดง ประจุลบจากแผ่นสังกะสีจะเคลื่อนที่ไปหาแผ่นทองแดง
เกิดกระแสอิเลคตรอนขึ้น
ในขณะเดียวกันก็เกิดกระแสไฟฟ้า(สมมุติ)
ไหลจากแผ่นทองแดงไปยังสังกะสี ประจุลบจากแผ่นสังกะสีจะเคลื่อนที่ไปยังแผ่นทองแดงจนกระทั่งศักย์ไฟฟ้าของโลหะทั้งสองแผ่นเท่ากัน
(ไม่เกิดความต่างศักย์) ประจุลบจึงหยุดการเคลื่อนที่
สารละลายกรดซัลฟิวริกเจือจางจะเกิดปฏิกิริยา
โดย จะแตกตัวได้เป็นไฮโดรเจนไอออน (H+) ซึ่งมีประจุบวก เข้าไปรับอิเลคตรอนที่แผ่นทองแดง
แล้วเกิดเป็นก๊าซไฮโดรเจนเกาะอยู่ที่แผ่นทองแดง การที่ไฮโดรเจนไอออนเข้าไปรับอิเลคตรอนจากแผ่นทอง
ทำให้แผ่นทองแดงมีประจุลบน้อยกว่าแผ่นสังกะสี ประจุลบจากสังกะสีจึงเคลื่อนที่จากแผ่นสังกะสีไปยังแผ่นทองแดงได้ตลอดเวลาเช่นกัน
โดยซัลเฟตไอออนจะไปรวมกับสังกะสีไอออนเกิดเป็นสังกะสีซัลเฟตและตกตะกอน ดังนั้นในเซลล์ไฟฟ้าเคมีแผ่นสังกะสีจึงผุกร่อนตลอดเวลา
เซลล์ปฐมภูมิ เป็นเซลล์ไฟฟ้าที่เมื่อเกิดปฏิกิริยาเคมีภายในเซลล์เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์แล้วไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
เช่น
ถ่านไฟฉาย เซลล์แอลคาไลน์ เซลล์ปรอท เซลล์เงิน เป็นต้น
เซลล์ไฟฟ้าประเภทนี้เมื่อสร้างเสร็จสามารถนำมาใช้ได้เลย
1.
เซลล์ดาเนียล เป็นเซลล์กัลวานิก
ประกอบด้วยครึ่งเซลล์ทองแดงและครึ่งเซลล์สังกะสี มีชื่อเรียกเฉพาะว่า เซลล์ดาเนียล
(Daniel
cell) ซึ่งใช้ภาชนะพรุน
หรือแผ่นพรุนขั้นสารละลายในแต่ละครึ่งเซลล์ทั้งสองแทนสะพานไอออน
อิเล็กโทรดทองแดงประกอบด้วยโลหะทองแดงบรรจุอยู่ในสารละลายอิ่มตัวของคอปเปอร์(||)
ซัลเฟต
ส่วนล่างของเซลล์มีผลึกของคอปเปอร์ซัลเฟตเพื่อให้สารละลายอิ่มตัว
สารอิเล็กโทรดสังกะสีประกอบด้วย
โลหะสังกะสีลอยอยู่ในสารละลายสังกะสีซัลเฟตที่เจือจางใกล้ๆส่วนบนของเซลล์
เหนือสารละลายคอปเปอร์ซัลเฟตซึ่งมีความหนาแน่นมากกว่า
เมื่อโลหะสังกะสีและทองแดงเชื่อมต่อกันด้วยลวด
อิเล็กตรอนจะไหลผ่านเส้นลวดจากสังกะสีซึ่งถูกออกซิไดซ์ง่ายกว่าไปยังทองแดงซึ่งออกซิไดซ์ยากกว่า
สังกะสีจะถูกออกซิไดซ์กลายเป็น
Zn2+
ในสารละลาย
ในขณะเดียวกัน Cu2+
จะถูกรีดิวซ์เป็นทองแดง
ดังสมการ
ปฏิกิริยาที่เกิด
Anode
(Oxidation) Zn Zn2+ +
2e-
Cathode (Reduction)
Cu2+
+ 2e- Cu
ปฏิกิริยารวม
(Redox) Zn +
Cu2+ Zn2+
+ Cu
ถ้าความเข้มข้นของ
Zn2+
เพิ่มขึ้น
ปฏิกิริยาที่ขั้วบวก
( Anode ) จะเลื่อนไปทางซ้าย
เป็นผลให้ศักย์ไฟฟ้าของเซลล์ลดลง
ซึ่งโดยปกติเซลล์ดาเนียลจะให้ศักย์ไฟฟ้าประมาณ
1.10 โวลต์
เซลล์ที่ใช้หลักการเดียวกับดาเนียลเซลล์
แต่ใช้แคดเมียมและนิกเกิลแทนสังกะสีและทองแดง
ใช้กันมากในแบตเตอรี่ เพราะมีอายุการใช้งานที่นานกว่า
2.
ถ่านไฟฉายหรือเซลล์แห้ง
ปฏิกิริยาที่เกิด
Anode
(Oxidation) Zn Zn2+ +
2e-
Cathode (Reduction)
2MnO2 +
2NH4 + 2e-
Mn2O3
+ H2O + 2NH3
ปฏิกิริยารวม
(Redox) Zn +
2MnO2 + 2NH4 + Zn2+ +
Mn2O3 + H2O +
2NH3
Zn2+
รวมกับ
NH2
เกิดสารประกอบเชิงซ้อน
[Zn(NH3)4]2+ และ
[Zn(NH3)2(H2O)]2+] เพื่อรักษาความเข้มข้นของ
Zn2+และNH3เซลล์ชนิดนี้มีแรงเคลื่อนประมาณ1.5โวลต์
ที่คาโทดมีคาร์บอนอยู่สองรูปร่วมกัน : แกรไฟต์ หรือเรียกว่า "คาร์บอน แบลค" เกิดขึ้นจากการสลายสารไฮโดรคาร์บอนด้วยความร้อนสูงมาก (pyrolysis) หรือโดยการเผาไหม้บางส่วน (partial combustion) โดยทั่วไปอะเซทีลีนแบลคผลิตขึ้นจากการทำให้อะเซทีลีนสลายด้วยความร้อนที่ 800 ํC ผสมอะเซทีลีนแบลคหรือ ผงแกรไฟต์ด้วยอิเล็กโทรไลต์ และแมงกานีสไดออกไซด์เพื่อทำให้เป็นแป้งเปียกคาโทดที่นำไฟฟ้า สำหรับการใช้งานที่ต้องการพลังงานสูง และใช้เป็นครั้งคราว อย่างเช่น แฟลชกล้องถ่ายรูป แป้งเปียกจะมีส่วนผสมแกรไฟต์นำไฟฟ้ามากกว่าความเข้มข้นอาจสูงถึง 50% ในกรณีที่ต้องการ พลังงานต่ำแต่ใช้อย่างต่อเนื่อง ไม่ต้องการความนำไฟฟ้าสูง มักใช้อะเซทีลีนแบลคที่ความเข้มข้นสูงถึง 25%
ที่คาโทดมีคาร์บอนอยู่สองรูปร่วมกัน : แกรไฟต์ หรือเรียกว่า "คาร์บอน แบลค" เกิดขึ้นจากการสลายสารไฮโดรคาร์บอนด้วยความร้อนสูงมาก (pyrolysis) หรือโดยการเผาไหม้บางส่วน (partial combustion) โดยทั่วไปอะเซทีลีนแบลคผลิตขึ้นจากการทำให้อะเซทีลีนสลายด้วยความร้อนที่ 800 ํC ผสมอะเซทีลีนแบลคหรือ ผงแกรไฟต์ด้วยอิเล็กโทรไลต์ และแมงกานีสไดออกไซด์เพื่อทำให้เป็นแป้งเปียกคาโทดที่นำไฟฟ้า สำหรับการใช้งานที่ต้องการพลังงานสูง และใช้เป็นครั้งคราว อย่างเช่น แฟลชกล้องถ่ายรูป แป้งเปียกจะมีส่วนผสมแกรไฟต์นำไฟฟ้ามากกว่าความเข้มข้นอาจสูงถึง 50% ในกรณีที่ต้องการ พลังงานต่ำแต่ใช้อย่างต่อเนื่อง ไม่ต้องการความนำไฟฟ้าสูง มักใช้อะเซทีลีนแบลคที่ความเข้มข้นสูงถึง 25%
คาโทดยังมีแท่งทรงกระบอกเป็นตัวเก็บกระแสไฟฟ้า
โผล่ออกจากแป้งเปียกที่มีคาร์บอนและผงแกรไฟต์ผสมอยู่กับสารที่ช่วยให้เกิดการเกาะติด (binder)
นำส่วนนี้ไปอบแล้วเติมน้ำมันหรือขี้ผึ้งลงไปผสมเพื่อให้ได้คุณสมบัติที่เหมาะสม
แท่งทรงกระบอกนี้ทำหน้าที่สถานีบวกปลายทางให้แก่แบตเตอรี่
และนำกระแสไฟฟ้าจากมวลคาโทดที่อยู่ห้อมล้อม
มันไม่ยอมให้น้ำที่ออกจากเซลล์ผ่านเข้าไปได้
แต่เป็นทางผ่านของออกซิเจนจากอากาศ มีความพรุนพอ
ที่จะทำให้เกิดการระบายไฮโดรเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นในแบตเตอรี่
ปฏิกิริยาที่เกิด
Anode (Oxidation) Zn + 2OH- ZnO + H2O
+ 2e-
Anode (Oxidation) Zn + 2OH-
Cathode
(Reduction) 2MnO2 +
H2O + 2e- Mn2O3 +
2OH-
ปฏิกิริยารวม
(Redox) Zn +
2MnO2 ZnO +
Mn2O3
เซลล์อัลคาไลน์มีศักย์ไฟฟ้าเท่ากับเซลล์แห้ง
คือ 1.5 โวลต์แต่ใช้ได้นานกว่า เพราะน้ำและไฮดรอกไซด์
(OH- ) ที่เกิดขึ้นในปฏิกิริยาหมุนเวียนกลับไปเป็นสารตั้งต้นของปฏิกิริยาได้อีก
จึงทำให้ศักย์คงที่ตลอดการใช้งานและใช้ได้นานกว่า
ปฏิกิริยาที่เกิด
Anode
(Oxidation) Zn + 2OH- ZnO + H2O
+ 2e-
Cathode (Reduction)
HgO +
H2O + 2e- Hg + 2OH-
ปฏิกิริยารวม
(Redox) Zn + HgO ZnO +
Hg
เซลล์ปรอทมีขนาดเล็กเท่ากับเม็ดกระดุมให้ศักย์ไฟฟ้าประมาณ
1.3
โวลต์
ให้ศักย์ไฟฟ้าเกือบคงที่ตลอดอายุการใช้งาน
นิยมใช้ในเครื่องฟังเสียงของคนหูพิการ
ถ่านนาฬิกา
เครื่องช่วยฟังเข็มทิศ เกมส์กด เครื่องคิดเลข และกล้องถ่ายรูป
5.
เซลล์เงิน มีส่วนประกอบเช่นเดียวกับเซลล์ปรอท
แต่ใช้ซิลเวอร์ออกไซด์
( Ag2O)
แทนเมอร์คิวรี
(II)
ออกไซด์
( HgO)
ปฏิกิริยาที่เกิด
Anode
(Oxidation) Zn + 2OH- ZnO + H2O +
2e-
Cathode (Reduction)
Ag2O +
H2O + 2e-
2Ag +
2OH-
ปฏิกิริยารวม
(Redox) Zn + Ag2O ZnO + 2Ag
เซลล์เงินมีขนาดเล็ก
อายุการใช้งานมากกว่าเซลล์ปฐมภูมิชนิดอื่นๆ แต่ราคาแพงกว่า ให้ศักย์ไฟฟ้าประมาณ
1.5
โวลต์
จึงใช้กับอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิด
เช่น เครื่องคิดเลข
นาฬิกา กล้องถ่ายรูปอัตโนมัติ
เซลล์ทุติยภูมิ หมายถึง
ไฟฟ้าชนิดที่เมื่อใช้พลังงานไฟฟ้าจากเซลล์ออกไปแล้งสามารถจ่ายไฟฟ้าเข้ามาในเซลล์เพื่อให้เซลล์มีคุณสมบัติเหมือนเดิมได้อีกด้วย ก็จำพวกแบตเตอรี่รถยนต์ หรือ
แบตเตอรี่แบบอัลคาไลน์
หรือแบตเตอรี่ชนิดที่ใช้กับเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ บางชนิด ซึ่งเมื่อเราใช้ไฟหมดแล้วสามารถอัดไฟ (Charge) เข้ามาใหม่ได้ได้เซลล์ไฟฟ้าแบบทุติยภูมิมีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น
STORAGE
CELL,
ACCUMLATOR, หรือ BATTERY เป็นต้น
1.
เซลล์สะสมไฟฟ้าแบบเอดิสัน (Edison storage
battery) ประกอบแผ่นเหล็กกล้า
บรรจุผงเหล็กละเอียดส่วนนี้ทำหน้าที่เป็นขั้วลบ
สำหรับขั้วบวกเป็นแผ่นเหล็กกล้าบรรจุด้วยนิเกิล(IV) ออกไซด์ไฮเดรต
ส่วนอิเล็กโทรไลต์เป็นสารละลายที่มีโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ 21% ผสมลิเทียมไฮดรอกไซด์เล็กน้อย
เมื่อมีการจ่ายไฟฟ้า
ปฏิกิริยาครึ่งเซลล์เกิดขึ้นดังนี้
Anode
(Oxidation) NiO2(s) +
2H2O(l) + 2e-
Ni(OH)2(s)
+ 2OH-(aq)
Cathode (Reduction)
Fe(s) +
2OH-(aq) Fe(OH)2(s)
+ 2e-
ปฏิกิริยารวม
(Redox) Fe(s) +
NiO2(s) + 2H2O(l) Fe(OH)2(s)
+ Ni(OH)2(s)
เมื่อมีการอัดไฟฟ้า
ปฏิกิริยาจะเปลี่ยนทิศทางจากขวาไปซ้าย
ศักย์ไฟฟ้าของแต่ละเซลล์แบบเอดิสัน
มีค่า1.4 โวลต์
2.
แบตเตอรี่อิเล็กโทรไลต์แข็ง
สารจำพวกพอลิเมอร์บางชนิด
มีสมบัติยอมให้ไอออนผ่านได้ดีแต่ไม่ยอมให้อิเล็กตรอนผ่านได้จึงนำมาใช้เป็นอิเล็กโทรไลต์ที่เรียกว่า
อิเล็กโทรไลต์แข็ง
และสามารถนำมาประกอบกับขั้วไฟฟ้าเป็นแบตเตอรี่ได้
โดยมีโลหะลิเทียมเป็นแอโนดและไทเทเนียมไดซัลไฟด์
(TiS2)
เป็นแคโทด
ศักย์ไฟฟ้าของเซลล์นี้มีค่าประมาณ
2
โวลต์
ปฏิกิริยาที่เกิด
Anode (Oxidation) Li Li+ +
e-
Anode (Oxidation) Li
Cathode
(Reduction) TiS2 +
e- TiS2-
ปฏิกิริยารวม
(Redox) Li +
TiS2 Li+ +
TiS2 -
เมื่อโลหะลิเทียมให้อิเล็กตรอนแล้วจะกลายเป็น Li+
ผ่านอิเล็กโทรไลต์แข็งไปยังแคโทดซึ่งมี TiS2
ทำหน้าที่รับอิเล็กตรอนเกิดเป็น TiS2
-(s) จากนั้น
TiS2
- จะรวมตัวกับ
Li+
เกิดเป็น
LiTiS2
อิเล็กโทรไลต์แข็งทำหน้าที่เป็นฉนวนต่ออิเล็กตรอน
จึงทำให้เซลล์ไฟฟ้านี้สามารถใช้งานได้โดยไม่เกิดการลัดวงจร
เซลล์ไฟฟ้าแบบนี้สามารถประจุไฟได้ใหม่
ในปัจจุบันนี้มีการใช้แบตเตอรี่ชนิดนี้กับรถยนต์
ทำให้ไม่ต้องเติมน้ำกลั่นกับแบตเตอรี่อีกต่อไปเมื่อแบตเตอรี่นี้หมดอายุการใช้งานแล้วก็สามารถเปลี่ยนใหม่ได้
แต่ยังมีราคาแพงมากเมื่อเทียบกับแบตเตอรี่ที่ใช้แผ่นตะกั่วเป็นขั้วไฟฟ้าและใช้สารละลายกรดเป็นอิเล็กโทรไลต์
3.
เซลล์นิกเกิล – แคดเมียม หรือ เซลล์นิแคด เซลล์สะสมไฟฟ้าแบบนิกเกิล-แคดเมียมเป็นการเลียนแบบมาจากเซลล์แบบเอดิสัน
โดยใช้ผงแคดเมียมแทนผงเหล็ก มีแอโนดเป็นโลหะแคดเมียม และแคโทดเป็นนิกเกิล
(IV) ออกไซด์ ใช้เบสเป็นสารละลายอิเล็กโทรไลต์
เซลล์ Ni-Cd
ขั้วถูกเรียงกันเป็นม้วนๆ มีลักษณะเป็นวุ้น แต่ละชั้นแช่ใน
NaOH หรือ KOH ที่ชื้นเหลว
|
ปฏิกิริยาที่เกิด
Anode
(Oxidation) Cd(s) +
2OH-(aq) Cd(OH)2(s)
+ 2e-
Cathode (Reduction)
NiO2(s) +
2H2O + 2e- Ni(OH)2(s)
+ 2OH-(aq)
ปฏิกิริยารวม
(Redox) Cd(s) +
NiO2(s) + 2H2O Cd(OH)2(s)
+ Ni(OH)2(s)
สารผลิตภัณฑ์จากปฏิกิริยาเป็นของแข็งหุ้มเกาะแน่นอยู่ที่ผิวของแต่ละขั้ว
ดังนั้นเมื่อใช้ไฟไปนานๆ จึงต้องนำมาอัดไฟใหม่
เพื่อให้สารที่เป็นของแข็งเหล่านั้นหลุดออก กลายเป็นสารตั้งต้นใหม่
เซลล์ชนิดนี้ไม่เกิดก๊าซ จึงไม่เกิด Polarization
ดังนั้น ศักย์ไฟฟ้าของเซลล์จึงคงที่ คือ 1.30 โวลต์ ซึ่งเซลล์หนึ่ง ๆ
สามารถชาร์จไฟได้ไม่น้อยกว่า 1,000
ครั้ง
วิวัฒนาการของเซลล์แห้งแบบนิกเกิลแคดเมียมเป็นที่นิยมใช้กันมาก
เมื่อใช้จนไฟหมดสามารถประจุไฟได้ ทั้งยังมีน้ำหนักเบามาก และจ่ายกระแสไฟได้สูงมาก
จึงนิยมใช้กับเครื่องคิดเลข ไฟแฟลชถ่ายภาพ เครื่องโกนหนวด นาฬิกาข้อมือ
ตลอดจนอุปกรณ์ทางอิเลคทรอนิกส์ต่าง ๆ
4. เซลล์สะสมไฟฟ้าลิเทียม
แบตเตอรี่สมัยใหม่นิยมใช้ลิเทียมเป็นอาโนด
เพราะว่ามันมีคุณสมบัติรวมไว้ทั้งศักย์ไฟฟ้าสูงและน้ำหนักสมมูล
(equivalent weigt)
ต่ำ
ทำให้มีความจุคูลอมบ์สูง
ซึ่งหมายถึงมีปริมาณอิเล็กตรอนต่อหน่วยน้ำหนักสูง ดังนั้นแบตเตอรี่ลิเทียมจึงมีความหนาแน่นพลังงานสูง
คาร์บอนมักนำมาใช้ในแบตเตอรี่ลิเทียมเสมอ
มีการศึกษาหน้าที่ของคาร์บอนในแบตเตอรี่ประเภทนี้อย่างกว้างขวาง
ลิเทียมไม่ว่าในรูปโลหะหรือเป็นสารประกอบ
ใช้ในทั้งแบตเตอรี่แบบอัดไฟซ้ำได้ และอัดไฟซ้ำไม่ได้
หน้าที่ของคาร์บอนในแบตเตอรี่ลิเทียม
| ||
ประเภทของแบตเตอรี่
|
องค์ประกอบคาร์บอน
|
หน้าที่
|
Lithium/sulphur
dioxide |
อะเซทีลีนแบลคติดเทฟลอน |
เพิ่มการนำไฟฟ้าให้คาโทด |
Lithium/thionyl
chloride |
อะเซทีลีนแบลคติดเทฟลอน |
เพิ่มการนำไฟฟ้าให้คาโทด |
Lithium/air |
Catalysed
Chevron black |
ผิวหน้าว่องไวต่อปฏิกิริยาสำหรับลดออกซิเจน |
Lithium/manganese
dioxide (อัดไฟใหม่ไม่ได้) |
Vulcan VXC
72Rplus MnO2 |
เพิ่มการนำไฟฟ้าให้คาโทด |
Lithium/lithiated
MnO2 |
Super-S/graphite in
LiMn2O4 |
เพิ่มการนำไฟฟ้าให้คาโทด |
Lithium-ion
(Li/LiCoO2) |
5-10%
อะเซทีลีนแบลคหรือแกรไฟต์ใช้แล้ว |
เพิ่มการนำไฟฟ้าให้คาโทด |
Lithium-ion |
ถ่านโค้กบริสุทธิ์หรือแกรไฟต์บริสุทธิ์ |
ที่รองรับสำหรับให้ลิเทียมแทรกตัว |
แบตเตอรี่ลิเทียมที่อัดไฟซ้ำได้
1. ลิเทียมไอออน ขั้วอาโนดเป็นลิเทียมไอออนที่แทรกอยู่ในคาร์บอน
ส่วนขั้วคาโทดเป็นออกไซด์ของโลหะทรานสิชัน เช่น โคบอลต์ออกไซด์ และมีลิเทียม
แทรกอยู่ในเนื้อวัสดุเช่นเดียวกัน
Lithium Ion
Cylindrical cell structure
Lithium Ion
Prismatic cell structure
แบตเตอรี่เหล่านี้ใช้คาร์บอนในรูปต่าง
ๆ รูปแบบในยุคต้นมีปิโตรเลียมโค้ก ซึ่งได้จากการทำให้น้ำมันยางปิโตรเลียมร้อนที่อุณหภูมิระหว่าง
900-1,000° C
แต่ปัจจุบันนิยมใช้แกรไฟต์
มากกว่า
เพราะมันมีความจุให้ลิเทียมไอออนเข้าไปแทรกอยู่ได้สูงกว่า
ซึ่งทำให้ความจุไฟฟ้าเพิ่มขึ้น
สารอื่นที่อาจใช้แทรกลิเทียมไอออนได้แก่ Cu
Sn และทินออกไซด์
ก็กำลังมีการศึกษากันอยู่ แต่ถึงอย่างไรคาร์บอนก็ยังเป็นวัสดุที่เลือกใช้กัน
อาจเติมคาร์บอนแบลคให้แก่องค์ประกอบของอาโนด
เพื่อช่วยเพิ่มความจุไฟฟ้าก็เป็นไปได้
หลักการทำงานของ
Li-Ion
ภายในตัวแบตจะประกอบด้วยสาร
คาร์บอน ที่สามารถ ซึมซับ และ
คาย ไอออนของลิเทียม ได้ ระหว่างชาร์จ ภายในตัวแบตเตอรี่ จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีข้างใน
แต่จะเกิดปฏิกิริยาเคมีในแบตเตอรี่ ดังสมการเคมีดังต่อไปนี้
charging LiCoO2 + 6C Li1-xCoO2 + LixC6
discharging Li1-xCoO2 + LixC Li1-x
+
dxCoO2 +
Lix-dxC
charging LiCoO2 + 6C
discharging Li1-xCoO2 + LixC
ข้อดีของ
Li-Ion
คือ
1. น้ำหนักเบา 2. ผลกระทบจาก Memory Effect น้อยมาก แทบจะไม่มีเลย 3. มีความหนาแน่นของพลังงานสูง คือ ถ้าเทียบขนาด และน้ำหนักปริมาตรที่เท่ากัน ระหว่าง Ni-CD Ni-MH Li-Ion Li-Ion จะเก็บไฟได้มากกว่า 4. มีแรงดันไฟสูง Li-Ion ก้อนเดียว จะเท่ากับเอา Ni-CD 3 ก้อนมาต่อกัน คือประมาณ 3.7 V 5. จ่ายกระแสไฟได้คงที่แม้ว่าไฟจะใกล้หมด 6. ไม่มีโลหะหนักเป็นส่วนประกอบ เช่น ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม 7. มีอายุการใช้งานยาวกว่า เพราะการชาร์จ จะคิดเป็น Cycle ไม่ได้คิดเป็นจำนวนครั้ง 8.ใช้เวลาในการชาร์จน้อย คือ 2 - 4 ชั่วโมง 9. ไม่ต้องกระตุ้นเซลล์ในการชาร์จครั้งแรก
1. น้ำหนักเบา 2. ผลกระทบจาก Memory Effect น้อยมาก แทบจะไม่มีเลย 3. มีความหนาแน่นของพลังงานสูง คือ ถ้าเทียบขนาด และน้ำหนักปริมาตรที่เท่ากัน ระหว่าง Ni-CD Ni-MH Li-Ion Li-Ion จะเก็บไฟได้มากกว่า 4. มีแรงดันไฟสูง Li-Ion ก้อนเดียว จะเท่ากับเอา Ni-CD 3 ก้อนมาต่อกัน คือประมาณ 3.7 V 5. จ่ายกระแสไฟได้คงที่แม้ว่าไฟจะใกล้หมด 6. ไม่มีโลหะหนักเป็นส่วนประกอบ เช่น ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม 7. มีอายุการใช้งานยาวกว่า เพราะการชาร์จ จะคิดเป็น Cycle ไม่ได้คิดเป็นจำนวนครั้ง 8.ใช้เวลาในการชาร์จน้อย คือ 2 - 4 ชั่วโมง 9. ไม่ต้องกระตุ้นเซลล์ในการชาร์จครั้งแรก
แต่ Li-Ion ก็ยังมีผลเรื่องของการใช้งานอย่างหนึ่งคือ
หากมีการดิสชาร์จ (การคายประจุแบตเตอรี่)
หรือใช้แล้วปล่อยให้ไฟหมดจากตัวเซลของแบตเตอรี่แบบเกลี้ยงเลย
อาจเสื่อมประสิทธิภาพได้
หรืออาจจำเป็นต้องกระตุ้นการชาร์จ ระยะหนึ่งก่อนที่จะกลับมาใช้งานปกติ
เช่น เมื่อเราทิ้งเครื่องพร้อมแบตเตอรี่จนไฟหมด และไม่ได้ชาร์จ
จนกระทั่งไฟหมดจากแบตเตอรี่ เมื่อเสียบสายชาร์จ ไฟอาจไม่สามารถชาร์จได้ในทันที
อาจต้องรอ 30-60 นาที
เพื่อกระตุ้นเซลล์แบตเตอรี่ ให้กลับคืนสภาพ
ก่อนการชาร์จได้อีกครั้ง แต่ในแบตเตอรี่แบบ
Li-Polymer
ได้รับการพัฒนาจาก
Li-Ion อีกระดับคือ
นอกจากจะเบา แล้ว ยังสามารถที่จะปล่อยให้ไฟหมด โดยไม่มีผลเรื่องความเสื่อมประสิทธิภาพ
2.
แบตเตอรี่ลิเทียม/อากาศ ประกอบด้วยอาโนดในรูปแผ่นโลหะลิเทียม
(lithium foil)
ต่อกับขั้วคาโทดทำด้วยคาร์บอนสัมผัสอยู่กับออกซิเจน
หรือเรียกว่า “ขั้วไฟฟ้าอากาศ (air electrode)”
อยู่ในโพลีเมอร์อิเล็กโทรไลต์
แบตเตอรี่ที่ใช้ขั้วอิเล็กโทดแตกต่างออกไปเช่น
อาโนด ทำจากอะลูมิเนียมหรือสังกะสีก็มีบ้าง
แต่แบตเตอรี่ลิเทียม/อากาศ มีศักยภาพการทำงานสูงส่งเป็นพิเศษ
ขั้วไฟฟ้าอากาศมีตัวรองรับเป็นแกรไฟต์พรุน
หรือ อะเซทีลีนแบลค และมีตัวเร่งโคบอลต์กระจายอยู่โดยทั่ว
ขณะที่เซลล์จ่ายไฟจะเกิดลิเทียมเพอรอกไซด์มาจับที่รูพรุน
การจ่ายไฟสิ้นสุดลงเมื่อคาโทดถูกอุดตันจนหมดสิ้น
อัตราการจ่ายไปของแบตเตอรี่มีความสัมพันธ์กับพื้นที่ผิวของวัสดุคาร์บอน
เมื่อใช้อะเซทีลีนแบลคเชฟรอน
(Chevuron)
ประสิทธิภาพการทำงานก็ยิ่งดีขึ้น
ทำให้มีพื้นที่ผิว
40
ตารางเมตรต่อกรัม
สูงกว่าแกรไฟต์ซึ่งให้พื้นที่ผิว 5 ตารางเมตรต่อกรัม
คาร์บอนที่มีพื้นที่ผิวสูงเช่น Ketjenblack (1,000
ตารางเมตรต่อกรัม)
หรือ Black Pearl 2,000 (2,000
ตารางเมตรต่อกรัม)
ยิ่งทำให้ประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้นไปอีก
การพัฒนาในอนาคตสำหรับแบตเตอรี่ลิเทียมจะมุ่งเน้นไปที่การใช้โพลีเมอร์อิเล็กโทรไลต์เพื่อผลิตระบบซึ่งมี
น้ำหนักเบาและยืดหยุ่นออกมา
แบตเตอรี่ลิเทียมแบบอัดไฟใหม่ไม่ได้ ที่ผลิตกันมากได้แก่ระบบลิเทียม/แมงกานีสไดออกไซด์
ลิเทียม/ไทโอ-นิลคลอไรด์
การเติมคาร์บอนให้แก่คาโทดก็เพื่อเพิ่มความนำไฟฟ้าและเพิ่มความจุกระแสให้สูงขึ้น
ในระบบคาโทดเหลว
(ไทโอนิลคลอไรด์ และซัลเฟอร์ไดออกไซด์) อะเซทีลีนแบลคคือตัวเก็บกระแสที่สมบูรณ์แบบเพราะความทนทานทางเคมีของมันต่อของเหลวที่กัดกร่อนเหล่านี้
อย่างไรก็ตามงานวิจัยเมื่อเร็ว
ๆ นี้ได้แสดงให้เห็นว่าการแทนที่ อะเซทีลีนแบลคด้วยเส้นใยจุลภาคของคาร์บอน
(carbon
microfibers) ช่วยเพิ่มความจุของคาโทดได้ถึง
70%
เพราะมันช่วยให้เกิดการสัมผัสกันระหว่างอนุภาคของวัสดุ
ที่ว่องไวต่อปฏิกิริยาคาโทด
5. เซลล์สะสมไฟฟ้าแบบตะกั่ว
(LEAD-ACID
BATTERY ) แบตเตอรี่ชนิดนี้คือ
แบตเตอรี่ที่เราเห็นทั่วไป เช่น แบตเตอรี่รถยนต์ แผ่นธาตุขั้วบวกและลบด้วยตะกั่ว
และแช่ลงใน กรดกำมะถัน
สามารถอัดไฟใหม่ได้เมื่อใช้ไปแล้วภายในมีหลายๆ
เซลล์ต่ออนุกรมกันปกติแต่ละเซลล์มีแรงดันออกมา
= 2 V ถ้าต่ออนุกรมกัน
6
เซลล์ก็จะได้
12 V
เป็นต้น
โครงสร้างประไปด้วยแผ่นธาตุทำด้วยตะกั่วบริสุทธิ์เป็นขั้วลบ และแผ่นธาตุของตะกั่วไดออกไซด์เป็นขั้วบวก ตัวที่เป็นอิเล็กโทรไลต์ คือ กรดซัลฟูริก
(H2SO4)
ถ้ามีการบำรุงรักษาให้ดีแล้วจะมีอายุการใช้งานประมาณ 5 ปี
การทำงานของแบตเตอรี่
เมื่อต่อแหล่งกำเนิดไฟฟ้าเข้ากับแผ่นตะกั่ว
(Pb) ทั้ง 2 แผ่น แล้วผ่านกระแสไฟฟ้าปริมาณพอเหมาะลงในสารละลายกรดกำมะถัน
จะเกิดการเปลี่ยนแปลงดังนี้
ที่ขั้ว A
(Anode)
ซึ่งต่อเข้ากับขั้วบวกของแหล่งกำเนิดไฟฟ้าเป็นขั้วบวก
พบว่ามีสารสีน้ำตาลดำของเลด(IV) ออกไซด์ (PbO2) มาเกาะเคลือบที่แผ่น
Pb อธิบายได้ว่า Pb ถูกออกซิไดซ์เกิด
PbO2 (สารสีน้ำตาลดำ)
ดังนี้
(1)
Pb(s) Pb2+(aq)
+ 2e-
(2)
Pb2+(s) + 2H2O(l)
PbO2(s) + 4H+(aq)
+ 4e-
รวม Pb(s)
+
2H2O(l) PbO2(s) + 4H+(aq) + 4e-
ที่ขั้ว
B
(Cathode) ซึ่งต่อเข้ากับขั้วลบของแหล่งกำเนิดไฟฟ้า
เป็นขั้วลบ มีฟองก๊าซ H2
เกิดขึ้นรอบๆแผ่น Pb อธิบายได้ว่า
H+ ในสารละลายกรดกำมะถัน ถูกรีดิวซ์เป็นก๊าซ
H2 ดังนี้
2H+(aq) + 2e- H2(g)
2.
การจ่ายไฟ เซลล์ไฟฟ้าแบบตะกั่วอยู่ในรูปเซลล์กัลวานิก
หลังจากอัดไฟสักครู่หนึ่งปลดแหล่งกำเนิดไฟฟ้าออก ต่อโวลต์มิเตอร์แทน
จะพบว่าเข็มที่โวลต์มิเตอร์เบนได้จากขั้ว B
ไป A เกิดการเปลี่ยนแปลง
ดังนี้
ที่ขั้ว B
เป็นขั้วลบ
แผ่นตะกั่วสึกกร่อน เกิดคราบสีขาวตกอยู่ก้นภาชนะ อธิบายได้ว่า Pb
เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันให้ Pb2+ ซึ่งจะทำปฏิกิริยาต่อกับ ในสารละลายกรดกำมะถัน
เกิดตะกอนสีขาวของ PbSO4 ไม่ละลายน้ำ ดังนั้น ขั้ว
B เป็น Anode ด้วย
(1)
Pb(s) Pb2+(aq)
+ 2e-
(2)
Pb(s) +
SO2-4(aq) PbSO4(s)
รวม Pb(s)
+ SO2-4(aq) PbSO4(s)
+ 2e-
ที่ขั้ว
A
เป็นขั้วบวก PbO2
ที่เคลือบอยู่บน Pb สีน้ำตาลดำหายไป
เกิดตะกอนสีขาวขึ้น อธิบายได้ว่า PbO2 เกิดปฏิกิริยากับ H+ เกิด
Pb2+
และ
H2O แล้ว
Pb2+
ทำปฏิกิริยาต่อกับ ในสารละลายกรดกำมะถัน
เกิดตะกอนสีขาวของ PbSO4
ไม่ละลายน้ำ ดังนั้น ขั้ว A เป็น
Cathode
(1)
PbO2(s) + 4H+
(aq) +
2e- Pb2+(aq) + 2H2O(l)
(2) Pb2+(aq) + SO2-4(aq)
PbSO4(s)
รวม PbO2(s) + 4H+(aq) + SO2-4(aq) + 2e- PbSO4(s) + 2H2O(l)
ปฏิกิริยารวมของการจ่ายไฟของเซลล์สะสมไฟฟ้าแบบตะกั่ว
คือ
Pb(s)
+ PbO2(s) + 4H+(aq) + 2SO2-4(aq)
2PbSO4(s) + 2H2O(l)
3.
การอัดไฟครั้งที่ 2
เซลล์สะสมไฟฟ้า เมื่อจ่ายไฟไปนานๆ ต้องนำมาอัดไฟใหม่
สำหรับปฏิกิริยาในการอัดไฟครั้งที่ 2 และครั้งต่อไปจะเกิดขึ้นเหมือนกัน ยกเว้น
การอัดไฟครั้งแรกที่แตกต่างกันเท่านั้น
สำหรับปฏิกิริยาการอัดไฟครั้งที่
2 เกิดตรงข้ามกับปฏิกิริยาการจ่ายไฟ
โดยเปลี่ยนสารผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นจากการจ่ายไฟมาเป็นสารตั้งต้นใหม่ ส่วนขั้วบวก
ขั้วลบก็ยังคงเป็นขั้วเดิมไม่ว่าจะเป็นการัดไฟหรือจ่ายไฟ
ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้วเป็นดังนี้
ที่ขั้ว
A เป็นขั้วบวก
เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน จึงเป็น Anode
PbSO4(s) + 2H2O(l)
PbO2(s) + 4H+(aq)
+ 2e-
ที่ขั้ว
B
เป็นขั้วลบ
เกิดปฏิกิริยารีดักชัน จึงเป็น Cathode
PbSO4(s)
+
2e- Pb(s) +
SO2-4(aq)
ปฏิกิริยารวมของการอัดไฟครั้งที่
2 และครั้งอื่น คือ
2PbSO4(s) + 2H2O(l)
Pb(s)
+ PbO2(s) + 4H+(aq) + 2SO2-4(aq)
จ่ายไฟ
|
อัดไฟ
|
การตรวจสภาพแบตเตอรี่
สภาพของแบตเตอรี่เมื่อดูจากค่าความถ่วงจำเพาะของน้ำยา (สารละลายกรดกำมะถัน)
แบตเตอรี่ไฟอยู่เต็ม ถ.พ 1.275-1.300 ไม่ต้องอัดไฟ
แบตเตอรี่มีไฟอยู่ครึ่งหนึ่ง ถ.พ 1.225 ต้องอัดไฟใหม่
แบตเตอรี่มีไฟอยู่ประมาณ 1
ใน 4 ถ.พ 1.150 ต้องอัดไฟใหม่
จะเห็นได้ว่าถ้าเราเปิดจุกเกลียวด้านบนของแบตเตอรี่ และใช้ไฮโดรมิเตอร์ตรวจสอบถ้าค่า ถ.พ.ต่ำกว่า 1.225 ล่ะก็ต้องรีบนำไปอัดไฟทันที และอายุของแบตเตอรี่จะยืนยาวต่อไป แต่ถ้า
ทิ้งไว้นานจน ถ.พ.ของน้ำยาเท่ากับ 1.150 เมื่อนำไปอัดไฟใหม่แบตเตอรี่ก็ยังคงใช้ได้ แต่อายุการใช้งานจะสั้นลงกว่าเดิมมาก แต่ถ้าทิ้งไว้นานกว่านี้อีกจน ถ.พ.ตำกว่า 1.150 และเราไม่สามารถอัดไฟเข้าไป และใช้ได้ดีกว่าเดิม
ซึ่งก็คือแบตเตอรี่ที่หมดสภาพแล้ว
ความจุของแบตเตอรี่
คือความสามารถของแบตเตอรี่ที่จะเก็บประจุไฟฟ้าไว้ในรูปของแอมแปร์
–ชั่วโมง
(Ampare
hours) ตัวอย่างเช่น
แบตเตอรี่ขนาด 100 A-hr หมายถึง แบตเตอรี่ที่สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้า 12.5 V ได้ใน
8
ชั่วโมง (12.5 A x
8.hr = 100 A-hr)ปดติอัตราการจ่ายกระแสของแบตเตอรี่ตามปกติจะเทียบกับ 8 ชั่วโมงเสมอ
ชนิดแบตเตอรี่รถยนต์
แบบธรรมดา
คือ แบตเตอรี่ที่ภายในบรรจุโครงแผ่นธาตุกำเนิดไฟฟ้า ที่เกิดจากการผสมกันระหว่างโลหะ
2
ประเภท
ได้แก่ ตะกั่วซึ่งเป็นส่วนผสมหลัก และโลหะอื่นๆ
ตามแต่สูตรจะคิดค้นได้ ส่วนใหญ่ใช้ตะกั่วผสมกับพลวง
โดยเป็นแบตเตอรี่ที่ใช้กันมาอย่างยาวนานตั้งแต่เริ่มแรกในรถยนต์และรถจักรยานยนต์
หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า
แบตเตอรี่น้ำ (Storage Battery)
ที่ต้องหมั่นเติมน้ำกลั่นที่สูญเสียไปจากการใช้งาน
และต้องชาร์จไฟฟ้าก่อนการใช้งานในครั้งแรก
โดยสามารถนำมาชาร์จไฟฟ้าและเติมน้ำกลั่นได้เรื่อยๆ
เมื่อไฟฟ้าหมด จนกว่าอายุการใช้งานของโครงแผ่นธาตุจะเสื่อมไป
แบตเตอรี่แบบไม่ต้องบำรุงรักษา
หรือ MF ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าไม่ต้องรักษา
ก็หมายความว่า
ไม่ต้องมาคอยตรวจดูว่าน้ำกลั่นแห้งหรือยัง ตลอดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ไม่ต้องมีการเติมน้ำกลั่น
ซื้อมาจากร้านจำหน่ายแกะกล่องแล้วใช้ได้ทันที
และเป็นที่นิยมอย่างสูงในเวลานี้ นับแต่เปิดตัวอย่างเป็นทางการในรถยนต์แบบซีดานที่ประกอบในช่วงปี
2545
เป็นต้นมา
ด้วยความที่เป็นแบตเตอรี่ที่ใช้งานง่ายจึงถูกบรรจุมาในรถยนต์รุ่นใหม่ๆ
ตั้งแต่ขั้นตอนการประกอบในโรงงาน
แต่เมื่อมีข้อเด่น ก็ย่อมต้องมีข้อด้อยบ้างในบางเรื่อง
แบตเตอรี่แบบ
MF
จะเป็นแบบแคลเซียม
เมนเทนแนนซ์ ฟรี
(Calcium-Maintenance Free : Ca-MF) โครงธาตุโลหะเป็นตะกั่วผสมแคลเซียมทั้งขั้วบวกและลบ
มีคุณสมบัติที่ดีในการกำเนิดไฟฟ้า
และไม่ต้องเติมน้ำกลั่นตลอดอายุการใช้งาน แต่ก็มีความต่างที่ต้องกล่าวถึงบ้าง
คือ ประเทศไทยเป็นเมืองที่มีอากาศร้อนมาก อาจจะต้องมีการเติมน้ำกลั่นบ้างเล็กน้อย
เพราะว่าน้ำกลั่นในแบตเตอรี่มีโอกาสที่ระเหยออกไปได้บ้าง
ข้อดีคือใช้งานง่าย
แต่ข้อด้อยก็คือ เรื่องความทนทานในการใช้งานหนัก จะไม่เหมาะสมกับรถยนต์ที่ต้องจ่ายกระแสไฟมาก
(Deep
Cycle-Heavy Duty) เช่น
รถบรรทุก และรถโดยสาร
แบตเตอรี่แบบ
MF
เหมาะแก่การใช้งานกับรถจักรยานยนต์ในประเทศไทย
เพราะสังเกตจากความนิยมของตลาดจักรยานยนต์ไทยที่แตกต่างจากญี่ปุ่นโดยสิ้นเชิง
ตลาดในไทยชอบรถจักรยานยนต์ที่มีรูปร่างเพรียวลม
ผู้ผลิตพยายามดีไซน์ให้บางและมีเนื้อที่น้อยที่สุด
การติดตั้งแบตเตอรี่จึงมีการวางในตำแหน่งที่ต่างกันไป
มีทั้งตะแคงข้าง หรือกลับหัวกลับหาง
ถ้าใช้แบตเตอรี่แบบดั้งเดิมน้ำกลั่นก็จะมีการเอียงไปอยู่ข้างใดข้างหนึ่ง
เมื่อน้ำกลั่นลดลงแผ่นธาตุข้างในก็จะเสียและเสื่อมได้
แบตเตอรี่แบบไฮบริด
ถือได้ว่าเป็นความก้าวหน้าทั้งในด้านการผลิตแบตเตอรี่และความเหมาะสมกับการใช้งานที่สมบุกสมบัน
เป็นการรวมข้อดีในเรื่องความทนทานของแบตเตอรี่แบบธรรมดาที่ต้องเติมน้ำกลั่น
กับแบตเตอรี่แบบ
MF
ที่ไม่ต้องดูแลรักษามากมายนักเข้าด้วยกัน
แบตเตอรี่แบบไฮบริดมีอายุการใช้งานที่ทนทานกว่าแบบธรรมดา
แต่ไม่ต้องกังวลเรื่องการเติมน้ำกลั่น
การใช้งานจริงสามารถเติมน้ำกลั่นได้ในทุกๆ
5,000 หรือ
1
หมื่น
กม.ซึ่งทำได้พร้อมกับการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องตามปกติ
และเมื่อเทียบกับสภาพการใช้งานที่หนักเท่ากันแล้ว
ไฮบริดจะมีคุณสมบัติโดยรวมดีกว่าแบตเตอรี่แบบ
Ca-MF
ด้วย
แบตเตอรี่อากาศ
ตอบลบ